Categories
Uncategorized

mylittlecat- SWON ตอนที่ 18


โดจิน
โดจิน

คลิ๊กรูปด้านบนเพื่ออ่าน Switch On

กลไกการก่อโรคหวัดแมว
เชื้อ Feline herpes virus (FHV) จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางจมูก ปาก หรือตา จากนั้นจะเข้าสู่เซลล์เยื่อบุ pharynx, trachea, bronchi และ bronchioles ทำให้เกิดการอักเสบแบบมี neutrophils จำนวนมาก และกลายเป็นเนื้อตายหลายตำแหน่ง จากนั้น 24 ชั่วโมงต่อมา ไวรัสจะเข้ามาแบ่งตัวใน mononuclear cell ในกระแสเลือด ทำให้ไวรัสจะแพร่ไปตาม sensory nerve และแฝงตัวใน nucleus ของ neuron จากการชันสูตรพบการแฝงตัวบ่อยในเส้นประสาท trigeminal nerve สัตว์จะอยู่ในระยะแพร่เชื้อนี้นานประมาณ 1-3 สัปดาห์ จากนั้นเมื่อร่างกายของสัตว์มีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น ไวรัสจะหยุดการแบ่งตัวและซ่อนอยู่ในเส้นประสาท และจะแบ่งตัวและแพร่เชื้ออีกครั้งเมื่อสัตว์มีภูมิคุ้มกันต่ำลง จากรายงานการรักษาแมวที่ได้รับยา กลุ่ม glucocorticoid พบว่าแมว 70% มีการแบ่งตัวของไวรัส โดยร้อยละ 40 เป็นแมวที่อยู่ในช่วงให้นม และร้อยละ 18 เป็นแมวที่มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
ส่วน Feline calicivirus (FCV) มีระยะฟักตัว 2-14 วัน ขับเชื้อหลังติดเชื้อ 30 วัน แมวส่วนหนึ่งสามารถกำจัดไวรัสหมดได้ด้วยตัวเอง แต่แมวบางส่วนอาจขับเชื้อได้ตลอดชีวิต โดยเชื้อจะซ่อนอยู่ในเนื้อเยื่อคอหอยและต่อมทอมซิล
เชื้อแบคทีเรียที่พบมากคือ Bordetella bronchiseptica รองลงมาคือ Chlamydophila felis และ Pasteurella multocida โดยทั้งหมดเป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ โดย B. bronchiseptica และ P. multocida เป็นเชื้อที่พบปกติในระบบทางเดินหายใจแมว ยิ่งไปกว่านั้นเชื้อ B. bronchiseptica ยังสามารถติดต่อสู่คนได้ เฉพาะในคนที่ภูมิคุ้มกันต่ำและพบการติดต่อน้อยมาก
ส่วนเชื้อ Chlamydophila felis เป็นเชื้อก่อโรคที่มีเซลล์เยื่อบุเป็นเซลล์เป้าหมายโดยเฉพาะเซลล์เยื่อบุตา ระยะฟักโรคประมาณ 2-5 วัน และแพร่เชื้อนาน 60 วันหลังการติดเชื้อ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *